ตามปกติแล้ว Windows รุ่นใหญ่ เช่น Windows XP, Vista, 7 มีระยะเวลาซัพพอร์ตนาน 10 ปี (แบ่งเป็นสองระยะคือ 5+5 ปี ที่ระดับการซัพพอร์ตต่างกัน) พอมาถึงยุค Windows 10 ที่ออกรุ่นใหญ่บ่อยขึ้นเป็นทุก 6 เดือน ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องแยกระดับการซัพพอร์ต เป็นรุ่นปกตินาน 2 ปี และรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว (LTSB – Long Term Servicing Branch) นาน 10 ปีแบบเดิม มีเฉพาะรุ่น Enterprise เท่านั้น
วันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศนโยบายใหม่ของ Windows 10 Enterprise รุ่นซัพพอร์ตระยะยาว เปลี่ยนชื่อเล็กน้อยเป็นรุ่น Long Term Servicing Channel (LTSC) ที่สำคัญคือลดระยะเวลาซัพพอร์ตลงเหลือ 5 ปี
ส่วน Windows 10 IoT Enterprise LTSC ยังมีระยะเวลาซัพพอร์ตนาน 10 ปีดังเดิม
ไมโครซอฟท์ให้เหตุผลว่า Windows 10 Enterprise LTSC ถูกออกแบบมาเพื่อสถานการณ์เฉพาะ เช่น ระบบที่ไม่สามารถอัพเดตใหญ่ได้ ระบบปิดที่ไม่ต้องต่ออินเทอร์เน็ต ระบบเฉพาะที่ต้องเหมือนเดิมเสมอเป็นเวลานานๆ
สำหรับวิธีการเปิด Device Manager ให้เรากดปุ่ม Windows แล้วพิมพ์คำว่า “Device Manager” ลงไปแล้วกด Enter ได้เลย จากนั้น Windows จะเปิดหน้าต่างแบบในภาพด้านบนขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติ
การเช็คสเปคคอมด้วย Windows About เป็นวิธีง่าย ๆ ให้เรารู้ว่าโน๊ตบุ๊คหรือพีซีเครื่องนี้ใช้ซีพียู, การ์ดจอ, แรม สเปคไหนบ้าง และถ้าเปิดดูในโน๊ตบุ๊คจะแสดงข้อมูล Device ID, Product ID และ Serial Number ของโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้นด้วย เหมาะจะใช้ตอนต้องการเช็คประกันตัวเครื่องบนหน้าเว็บไซต์ของผู้ผลิตโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้นเป็นหลัก ซึ่งโปรแกรมจากผู้พัฒนารายอื่นไม่สามารใช้เช็คในส่วนนี้ได้นั่นเอง
สำหรับวิธีการเปิดหน้าต่างนี้ขึ้นมาให้เรากดปุ่ม Windows แล้วพิมพ์คำว่า “About” แล้วกด Enter จากนั้น Windows 10 ก็จะแสดงหน้านี้ขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติ
สำหรับวิธีการเปิด DirectX Diagnostic Tool ให้เรากดปุ่ม Windows แล้วพิมพ์คำว่า “dxdiag” ลงไปแล้วกด Enter จากนั้นรอสักครู่เพื่อให้ Windows จัดการเช็คและเปิดหน้าต่างนี้ขึ้นมา
7. System Information
สำหรับการเช็คสเปคคอมระดับลึกถึงเนื้อในของเครื่องจะขอแนะนำให้เปิด System Information เพื่อดูรายละเอียดของตัวเครื่องเลย ซึ่งจะให้ข้อมูลเราลึกมากจนถึง Boot Device, Hardware Abstraction Layer และการตั้งค่าต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลส่วนลึกของพีซีและโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้น ๆ เลย
สำหรับ System Information จะแยกเป็น 3 หมวดใหญ่ได้แก่
อย่างไรก็ตามใน System Information จะมีรายละเอียดสำคัญของตัวเครื่องค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามควรระวังความลับในส่วนนี้เป็นพิเศษเสมอ ส่วนวิธีการเปิด System Information ให้เรากดปุ่ม Windows แล้วพิมพ์คำว่า “System Information” ลงไปแล้วเลื่อนไปคลิกคำว่า Run as administrator เพื่อให้ระบบปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลตัวเครื่องให้ครบทั้งหมดได้เลย
วิธีเช็คสเปคคอมวิธีสุดท้ายและเป็นวิธีที่เช็คได้ละเอียดตั้งแต่สเปคทั้งหมดของเครื่องไปจนถึง Serial Number ของไบออส, Windows Product ID ของเราอีกด้วย ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญทั้งหมดของตัวเครื่องซึ่งไม่ควรเปิดเผยให้ใครรู้นอกจากผู้ผลิตที่รับประกันและดูแลโน๊ตบุ๊คหรือพีซีของเรานั่นเอง เพื่อป้องกันการโดนเจาะระบบและขโมยข้อมูลได้นั่นเอง
วิธีการเปิด Windows PowerShell ให้เรากดปุ่ม Windows แล้วพิมพ์คำว่า Windows PowerShell ลงไป แต่ให้เลือกคลิกที่คำว่า Run as Administrator เพื่อเข้าถึงรายละเอียดทั้งหมดของตัวเครื่อง เมื่อคลิกแล้ว Windows จะเปิดหน้าต่างพิมพ์คำสั่งขึ้นมาให้เรา
เมื่อเข้ามาแล้ว Windows PowerShell จะให้เราพิมพ์คำสั่งเพื่อเข้าถึงส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่อง ให้เราพิมพ์คำว่า “get-computerinfo” จากนั้นตัวเครื่องจะรันเช็คข้อมูลสเปคทั้งหมดและแสดงให้เราดู ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะยาวและละเอียดมากทีเดียว ซึ่งวิธีเช็คสเปคคอมด้วย Windows PowerShell นี้จะเป็นวิธีที่มีข้อมูลความลับส่วนตัวเยอะและละเอียดเหมือนกับการเช็คด้วย Command Prompt ดังนั้นควรระวังข้อมูลส่วนนี้ด้วย
ใช้งานโน๊ตบุ๊คหรือพีซีมานาน ๆ พื้นที่ว่างในเครื่องก็เริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ บางทีก็ทำงานช้าลงเพราะไม่ได้ลบไฟล์ขยะใน Windows ทิ้งไปแล้วปล่อยสะสมเอาไว้จนกินพื้นที่ในเครื่องไปจนเกือบหมด ซึ่งหลายคนก็เลือกวิธีง่าย ๆ อย่างการลง Windows ใหม่อีกรอบ แต่ก็มีข้อเสียคือต้องมาโอนไฟล์เข้าออกเครื่องและมานั่งลงโปรแกรมใหม่ให้เสียเวลาทำงานไปฟรี ๆ ซึ่งถ้าไม่จำเป็นจริงก็อยากแนะนำให้ทำเป็นวิธีสุดท้าย จะได้ไม่ต้องเสียเวลามานั่งเซ็ตอัพเครื่องใหม่ตั้งแต่ต้น
สำหรับคนที่ไม่เคยทำหรือล้างไฟล์ขยะใน Windows มาก่อนก็ไม่ต้องกังวลเพราะวิธีการใน Windows 10 จัดว่าทำได้ง่ายขึ้นมากและบางฟังก์ชั่นยังสามารถตั้งค่าให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติอีกด้วย ช่วยให้เราไม่ต้องแวะเวียนมาจัดการบ่อย ๆ ช่วยให้เราใช้พีซีทำงานได้ต่อเนื่องขึ้นมาก ๆ
ใช้ Windows มาเป็นปี ๆ ไม่รู้ไฟล์ขยะซ่อนเยอะแค่ไหน ถ้ามีเวลาว่าง ๆ ก็ล้างหน่อยเนอะ
ไฟล์ขยะใน Windows มาจากไหน?
ไฟล์ขยะใน Windows เกิดขึ้นได้เสมอทุกเวลาที่เราใช้คอมพิวเตอร์ของเราทำงาน ไม่ว่าจะติดตั้งโปรแกรม, เข้าอินเตอร์เน็ต, โหลดไฟล์ต่าง ๆ จากอินเตอร์เน็ตเข้ามาในเครื่อง, ทิ้งไฟล์ไม่ใช้แล้วลง Recycle Bin แล้วไม่ได้ลบทิ้ง ฯลฯ ก็สร้างไฟล์ขยะขึ้นมาในเครื่องของเราได้เสมอ
Recycle Bin – เหล่าไฟล์ที่เราลบทิ้งไปแล้วก็จะโดน Windows ย้ายไปทิ้งไว้ใน Recycle Bin เป็นจุดสุดท้าย และถ้าเราสั่ง “Empty Recycle Bin” เมื่อไหร่ไฟล์เหล่านั้นก็จะหายไปและต้องเสียเวลากู้ไฟล์กลับมา ดังนั้นถ้าเป็นสายลบไฟล์แต่ลืมล้างถังขยะทิ้งก็จะเสียพื้นที่ในเครื่องไปโดยปริยายเช่นกัน
Temporary files – เป็นไฟล์ที่โปรแกรมหรือ Windows สร้างขึ้นมาใช้ทำงานหนึ่ง ๆ ชั่วคราวและระบบไม่ได้ลบทิ้งให้
Thumbnails – ไฟล์ประเภทรูปภาพที่ Windows สร้างขึ้นมาเพื่อให้แสดงภาพในเครื่องได้เร็วยิ่งขึ้น ส่วนนี้ก็เป็นไฟล์ขยะที่ลบทิ้งได้เช่นกัน
โฟลเดอร์ Windows.old – เป็นไฟล์และโปรแกรมค้างจาก Windows ในไดรฟ์เดิม จะเจอในไดรฟ์ C:\ ของเราตอนเราล้างเครื่องลง Windows ใหม่ทับอันเก่าในไดรฟ์เดิม ถ้ามีไฟล์สำคัญที่เก็บเอาไว้ก็สามารถเข้าไปกู้ออกมาได้แล้วค่อยลบทิ้ง
7 วิธีลบไฟล์ขยะใน Windows เพิ่มพื้นที่ให้เครื่องของเรา
วิธีลบไฟล์ขยะใน Windows 10 นอกจากไฟล์ขยะที่ Windows มักสร้างเป็นประจำแล้ว ยังมีส่วนเสริมและฟีเจอร์สำหรับแท็บเล็ต Windows ติดมาด้วย เนื่องจาก Windows 10 ถูกออกแบบมาใช้งานในโหมดแท็บเล็ตได้ด้วย ทำให้เวลาเราเอามาใช้ในพีซีก็จะมีส่วนเสริมเกินจำเป็นของแท็บเล็ตแถมมาพร้อมกัน ถ้าปล่อยทิ้งเอาไว้นอกจากไม่ได้ใช้ประโยชน์ยังเปลืองพื้นที่ฮาร์ดดิสก์เราแต่ก็สามารถจัดการเอาพื้นที่คืนมาได้ด้วย 7 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
วิธีลบไฟล์ขยะใน Windows อย่างแรกที่ทำได้ง่ายสุดและไม่ต้องเข้าไปยุ่งกับการตั้งค่าใด ๆ ในระบบปฏิบัติการเลยคือการเรียก Disk Cleanup ขึ้นมาแล้วให้โปรแกรมจัดการตัวเองได้เลย เพียงแค่กดปุ่ม Windows บนคีย์บอร์ดและพิมพ์ Disk Cleanup ลงไปแล้วกด Enter เพื่อเปิดฟังก์ชั่นนี้ขึ้นมาได้เลย
Disk Cleanup จะคำนวนและสแกนไฟล์ขยะทั้งหมดในเครื่องแล้วแยกหมวดให้เราเลือกลบได้ตามต้องการ โดยปกติ Disk Cleanup จะตั้งให้ลบ Downloaded Program Files, Temporary Internet Files, Thumbnails เอาไว้อยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการลบไฟล์ส่วนอื่นด้วยให้เราติ๊กเลือกในช่องด้านหน้านั้นตามต้องการแล้วกด OK ให้ Disk Cleanup ลบไฟล์เหล่านั้นทิ้งไป
ฟีเจอร์ Storage sense เป็นอีกฟีเจอร์ลบไฟล์ขยะใน Windows 10 ที่มีประโยชน์มากเช่นกัน ซึ่งซ่อนอยู่ใน Settings > System นั่นเอง และเมื่อเราเปิดขึ้นมาแล้วให้เราคลิกที่แถบซ้ายตรงตัวเลือก Storage แล้วระบบจะมีแถบตัวเลือก “Configure Storage Sense or run it now” ขึ้นมา ให้เราเปิดการทำงานของมันที่แถบเลื่อนด้านบนก่อนแล้วคลิกเข้าไปตั้งค่าการทำงานของมันเพิ่มเติมด้วย
เมื่อเข้ามาในส่วนตั้งค่าของ Storage Sense ให้เลื่อนมาที่แถบ Temporary Files แล้วติ๊กถูกในช่อง “Delete temporary files that my apps aren’t using” เอาไว้แล้วเลื่อนมาที่บรรทัดต่อมาตรงเลข 1 คือให้ Storage Sense ลบไฟล์ที่ทิ้งไว้ใน Recycle Bin ภายในกี่วัน ให้เราเลือกตั้งค่าได้ตามความสะดวกได้เลย ส่วนหมายเลข 2 จะเป็นการลบไฟล์ที่ไม่ได้ใช้ในแฟ้ม Downloads ออกไป ซึ่งถ้าเราไม่ได้เก็บไฟล์เอาไว้ใน Downloads เป็นที่หลักอยู่แล้ว ก็สามารถเปิดให้ลบไฟล์ได้เช่นกัน
วิธีการคือกดปุ่ม Windows พิมพ์คำว่า Device Manager ลงไปก่อนกด Enter จะขึ้นเป็นหน้าต่างแบบในภาพด้านบน ให้เราค่อย ๆ ไล่ดูทีละรายการว่ามีไดรเวอร์ไหนที่กลายเป็นสีเทาแบบในภาพตัวอย่างบ้าง ซึ่งถ้ามีก็สามารถคลิกขวาแล้วกด Uninstall device ทิ้งไปได้เลย
ใจความสำคัญของการลบไฟล์ขยะใน Windows 10 คือ เราต้องหมั่นเข้ามาไล่เช็คว่ามีโปรแกรมไหนลบไปแล้วยังไม่ได้เก็บงานในไดรฟ์ C:\ หรือใช้บราวเซอร์นานเกินไปแล้วคิดว่าควรล้างไฟล์ขยะทิ้งบ้าง ฯลฯ รวมถึงการตั้งค่าให้ตัวระบบ Windows คอยดูและเคลียร์ไฟล์เหล่านั้นด้วยตัวเองเช่นกัน ก็จะทำให้พีซีของเราไม่มีไฟล์ขยะทิ้งค้างเอาไว้และไม่ต้องเสียเวลาล้างเครื่องติดตั้ง Windows ใหม่ให้เสียเวลาด้วย
ไมโครซอฟท์ออกฟีเจอร์ใหม่สำหรับฝ่ายไอทีองค์กรชื่อ Windows 10 in cloud configuration เป็นการเตรียมชุดคอนฟิกมาตรฐานของ Windows 10 เอาไว้ให้ องค์กรสามารถใช้คอนฟิกชุดนี้ติดตั้งบนเครื่อง Windows 10 ของพนักงานได้เลย ไม่ต้องเปลืองแรงมาจัดคอนฟิกเอง
ไมโครซอฟท์อธิบายว่า in cloud configuration เป็นชุดการตั้งค่าที่ไมโครซอฟท์แนะนำ (a set of recommended configurations) โดยครอบคลุมทั้งตัว OS (Windows 10 Pro/Enterprise/Education) และแอพยอดนิยมของไมโครซอฟท์คือ Edge, Teams, OneDrive และ Office
ตัวอย่างคอนฟิกชุดนี้คือ ผู้ใช้เข้าร่วม Azure Active Directory, ตัวอุปกรณ์จะเข้าระบบจัดการ Microsoft Intune และตั้งค่าความปลอดภัยอื่นๆ วิธีใช้งานต้องผ่าน Microsoft Endpoint Manager โดยเลือกวิธีการคอนฟิกแบบ cloud config
ส่วนองค์กรที่ยังต้องการคอนฟิกแบบที่ยืดหยุ่นกว่า และยังต้องการเซ็ตเครื่องเฉพาะเครือข่ายภายใน (on premise) ก็ยังสามารถคอนฟิกเครื่องด้วยวิธีแบบดั้งเดิมได้ต่อไป
ปีที่ผ่านมา โปรแกรม Your Phone บน Windows 10 ได้อัปเดตให้สามารถรันแอปพลิเคชันของ Android บนสมาร์ตโฟน Samsung Galaxy บางรุ่นได้แล้ว ซึ่งล่าสุดนั้น Microsoft ได้เพิ่มประสิทธิภาพของ Your Phone ให้มากขึ้นกว่าเดิม
สำหรับการใช้งาน Your Phone พร้อมฟังก์ชันใหม่นี้นั้น ผู้ใช้งานจะต้องติดตั้ง Windows 10 เวอร์ชันอัปเดตประจำเดือนพฤษภาคม 2020 พร้อมกับแอปพลิเคชัน Your Phone เวอร์ชัน 1.20102.132
5.เมื่อดาวน์โหลดไฟล์เสร็จสิ้น ให้ดับเบิลคลิ๊กไฟล์ที่ได้มา และระบบจะพาคุณเข้าสู่การติดตั้งเครื่องมือสำหรับการสร้างตัวบูต Windows ด้วยแฟลชไดรฟ์ ด้วย Windows 10 USB
6.เช็คให้แน่ใจว่าได้ติดตั้ง USB Flash drive ไว้ที่พอร์ตบนพีซีหรือโน๊ตบุ๊คเป็นที่เรียบร้อย จากนั้นเลือกที่หัวข้อ “Create installation media (USB Flash drive, DVD or ISO file) for another PC” เพื่อไปสู่ขั้นตอนต่อไปได้เลย
7.ในหน้านี้ระบบจะให้กำหนด ภาษา และเวอร์ชั่นของวินโดวส์ โดยเลือกเงื่อนไข ตามวินโดว์ที่ซื้อมา เช่น ภาษาไทย หรือจะเป็นแบบ 32-bit, 64-bit ใส่เครื่องหมายหน้า Use the recommended options for this PC แล้วคลิ๊ก Next
8.เข้าสู่ขั้นตอนที่จะสร้างตัวบูต Windows 10 ในหน้า Choose which media to use นี้ ให้เลือกรูปแบบของการใช้งานเพื่อบูตระบบ ในที่นี้เราต้องการใช้แฟลชไดรฟ์ ให้เลือก USB flash drive แล้วคลิ๊ก Next แต่ถ้าต้องการใช้เป็นแบบ DVD ก็ต้องเตรียมไดรฟ์ DVD Writer และเอาไว้หรือจะดาวน์โหลดเป็นไฟล์ ISO แล้วใช้โปรแกรมในการจำลองไดรฟ์ สำหรับการติดตั้งอีกรูปแบบหนึ่งได้เช่นกัน
9.ควรถอดไดรฟ์ที่เป็น Removable หลายตัว ตัวที่ไม่ได้ใช้งานออกก่อน เช่น USB Flash drive หรือ Memory card เพื่อจะได้ติดตั้งลงไม่ผิดไดรฟ์ ให้เลือกไดรฟ์ที่ต้องการ ในครั้งนี้เราใช้ไดรฟ์ E: เป็นไดรฟ์สำหรับติดตั้งระบบบูตวินโดว์ ให้คลิ๊ก Next เพื่อไปต่อ
10.เมื่อคลิ๊ก Next จะเข้าสู่การดาวน์โหลด Windows 10 มาติดตั้งอยู่ในแฟลชไดรฟ์ ระยะเวลาตรงนี้ ขึ้นอยู่กับความเร็วอินเทอร์เน็ต ถ้าช้ามากใช้เวลานาน สามารถดาวน์โหลดทิ้งไว้ เพื่อไปทำอย่างอื่นก่อน รอจนกว่าจะดาวน์โหลดเสร็จ
11.และเมื่อดาวน์โหลด Windows 10 เสร็จ คลิ๊กทื่ Finish เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนในการสร้างตัวบูตวินโดว์ 10
เช็คเพื่อความแน่ใจ ด้วยคลิ๊กดูไฟล์ที่ USB Flash drive ว่าได้ตัวบูต Windows 10 USB ตรงตามที่ต้องการ เปิดดูจาก Windows Explorer กดปุ่ม Win+E หรือปุ่ม Start แล้วเลือก Document เลือกไปที่ไดรฟ์ ที่เป็นแฟลชไดรฟ์ ดูข้อมูลภายในไดรฟ์ ว่าตรงกับในภาพนี้หรือไม่? ถ้าครบ ก็แสดงว่าพร้อมไปต่อกันในการสอนติดตั้งวินโดว์ 10 แล้ว
เลือกติดตั้ง Language (ภาษาของระบบ), Time and currency format (เวลาและรูปแบบในการแสดงบนระบบ เลือกประเทศ) และ Keyboard or input method ภาษาบนคีย์บอร์ดที่จะใช้ ทั้งหมดนี้สามารถกำหนดได้ในขั้นตอนเริ่มต้นนี้เลยก็ได้ หรือจะกด Next เพื่อไปสู่ขั้นตอนต่อไป แล้วเข้าไปตั้งค่าในภายหลัง เมื่อติดตั้งวินโดว์ 10 เสร็จแล้วก็ได้เช่นกัน
เมื่อตั้งค่าภาษา คีย์บอร์ดและเวลา ไปเรียบร้อย ให้คลิ๊ก Install now เพื่อเริ่มติดตั้งวินโดว์ได้ทันที
ในหน้าของ Activate Windows นี้ จะให้ใส่ Product Key ที่มีมาให้ในกล่องเมื่อซื้อ Windows 10 License มา ซึ่งจะใส่ลงไปในขั้นตอนนี้ก็ได้ หรือจะเข้าไปใส่ในภายหลังเมื่อติดตั้งเสร็จก็ได้เช่นกัน แนะนำว่าใส่ภายหลังได้ ด้วยการคลิ๊กที่ “I don’t have a product key” แล้วคลิ๊ก Next เพื่อความรวดเร็วในการติดตั้ง
สอนลงวินโดว์ 10 ในหน้านี้จะให้ระบุเวอร์ชั่นของ Windows License ที่คุณมี ว่าเป็นแบบใด Home, Pro, Education หรืออื่นๆ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็น Home หรือ Pro เป็นหลัก หรือจะดูจากกล่องวินโดว์ 10 ที่ซื้อมาก็ได้ว่าเป็นแบบ Windows 10 Home, หรือ Pro เลือกให้ตรงกัน เพราะถ้าผิดจากที่ซื้อ จะไม่สามารถลงทะเบียนได้ จากนั้นคลิ๊ก Next
ในหน้านี้จะเป็นรายละเอียดของ Microsoft Software License Terms ซึ่งจะเป็นข้อตกลงของผู้พัฒนาและผู้ใช้ จะเลื่อนลงไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม หรือจะใส่เครื่องหมายหน้า “I accept the license terms” เพื่อยืนยันข้อตกตง จากนั้นคลิ๊ก Next
เมื่อเสร็จจากกระบวนการ Install Windows ระบบจะบูตตัวเองใหม่ แล้วเข้าสู่หน้า “Let’s Start with region. Is this right?” ในส่วนนี้ให้เราเลือก Region หรือประเทศที่เราอยู่ หรือที่เราติดตั้งนี้ ซึ่งจะมีผลต่อการตั้งค่า ภาษาเริ่มต้น ที่จะตั้ง Default ให้กับเครื่อง แต่ในขั้นตอนนี้ เราจะเลือกข้ามไปก่อน ด้วยการกด Yes กับภาษาหลักอย่าง US แล้วค่อยเข้าไปแก้ไขในภายหลัง เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วได้เช่นกัน ด้วยการเข้าไปที่ Region & Language หรือ Settings > Region > Region format แล้วเลือก Thailand
Keyboard layout ตรงจุดนี้ จะใช้เป็นตัวกำหนดภาษาที่จะใช้บนคีย์บอร์ดของคุณ เดิมจะเป็น US อยู่แล้ว ที่ใช้กันทั่วไป แต่ถ้าจะปรับให้ภาษาไทยเป็นตัวแรก เริ่มต้น ก็ให้คลิ๊กเลือกที่ Thai ก็ได้ เช่นเดียวกัน คุณสามารถกด Yes เพื่อเข้าไปปรับตั้งค่าด้วยตัวเองในหน้า Language ได้เช่นเดียวกัน
เมื่อกด Skip แล้ว ระบบจะให้เราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งคุณจะเลือกเชื่อมต่อในขั้นตอนนี้ก็ได้ แต่ระบบจะให้คุณทำงานลงทะเบียน Microsoft account ไปด้วยเลย แต่ถ้ายังไม่มีแอคเคาต์หรือยังไม่อยากเชื่อมต่อ ก็สามารถคลิ๊กที่ I don’t have internet ที่อยู่ทางมุมซ้ายล่างของหน้าจอ เพื่อไปสู่ขั้นตอนต่อไปได้เลย
หากคุณต้องการเซ็ตค่าเหล่านี้ ด้วยแอคเคาต์ของคุณ ก็สามารถต่ออินเทอร์เน็ตและเลือก Connect Now ได้ทันที แต่ก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้ แล้วจึงจัดการในภายหลัง เพื่อความสะดวกในการติดตั้งได้เช่นกัน ให้เลือก Continue with limited setup
Advanced Security and Privacy – ตั้งค่าความปลอกภัยให้กับระบบ
Free access to Office Online, Outlook, Skype, and more – ฟีเจอร์การใช้ Office online และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล Cloud ด้วย OneDrive เป็นต้น
Unlock the best windows 10 features – ฟีเจอร์พิเศษบน Windows 10 อื่นๆ
“Who’s going to use this PC?” ใครคือผู้ใช้เครื่องนี้ ก็ใส่ชื่อพีซีของคุณไปได้เลย จะเป็นชื่อเล่น ชื่อจริง หรือใช้ชื่อสิ่งที่คุณชื่นชอบลงไปก็ได้ จะเป็นตัวเล็ก ใหญ่ หรีอใส่ตัวเลขก็ได้เช่นกัน เมื่อได้ชื่อแล้ว ให้คลิ๊ก Next