

from:https://www.techtalkthai.com/amd-achieves-record-x86-market-share-q1-2022/
from:https://www.techtalkthai.com/amd-achieves-record-x86-market-share-q1-2022/
ในที่สุด NVidia ก็ได้ยอมเปิดโค้ด GPU ของตนในส่วน Linux Kernel Mในที่สุด NVidia ก็ได้ยอมเปิดโค้ด GPU ของตนในส่วน Linux Kernel Module ภายใต้เนื้อหาของ GPL/MIT
ผลิตภัณฑ์ที่รองรับไดร์ฟเวอร์เหล่านี้คือโมเดล Turing และ Ampere ที่ออกมาหลังปี 2018 ประกอบด้วย GeForce 30, GeForce 20, GTX 1650/1660, A series,Tesla และ Quadro RTX ในมุมของ NVidia เองกล่าวว่า “นักพัฒนาจะสามารถติดตามเส้นทางการทำงานของโค้ด กระบวนการทำ Event Scheduling ว่าตอบสนองงานอย่างไร ทำให้สามารถดีบั๊กปัญหาได้ถึงต้นตอ ในขณะที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์องค์กรจะสามารถประสานไดร์ฟเวอร์เข้ากับ Linux Kernel ที่ใช้ในโปรเจ็คของตนเองได้“
ในมุมของกลุ่ม Linux Os ทั้ง Red hat, SUSE และ Canonical เองก็ออกมายินดีกับเรื่องนี้มาก โดยก่อนหน้านี้เป็นเวลาหลายปีที่ NVidia ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลแก่กลุ่มโอเพ่นซอร์สกระทั่งวันนี้ อย่างไรก็ตามมีเสียงวิจารณ์ว่าเรื่องราวอาจไม่ได้สวยหรูอย่างที่ NVidia คุยเพราะมีผู้สนใจหลายรายแย้งว่ามีโค้ดที่ถูกลบไปก่อนเปิดโอเพ่นซอร์ส รวมถึงส่วนไดร์ฟเวอร์ในส่วน User Mode ก็ยังคงถูกปิดไว้อยู่ดี
แม้โค้ดอาจไม่ปรากฏออกมาทุกส่วนแต่การกระทำครั้งนี้ก็ยังมีความหมายอย่างมากกับทีมงานนักพัฒนา Nouveau Driver ที่ทำเรื่องไดร์ฟเวอร์สำหรับการ์ดจอ NVidia แบบโอเพ่นซอร์ส ซึ่งก่อนหน้าก็ต้องอาศัยการทำ Reverse Engineering ที่อาจจะแกะทุกอย่างได้ไม่ครบถ้วน รวมถึงในระยะยาวส่วนไดร์ฟเวอร์ที่ไม่ได้ถูดเปิดก็ยังจะได้รับประโยชน์จาก API ภายใน Kernel และ Linux จะพร้อมรับกับชิปใหม่ได้ทันที
ที่มา : https://www.bleepingcomputer.com/news/linux/nvidia-has-open-sourced-its-linux-gpu-kernel-drivers/
from:https://www.techtalkthai.com/nvidia-open-sources-its-linux-kernel-driver/
สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยาย Datto Webinar เรื่อง “Business Continuity & Disaster Recovery คืออะไร สำคัญอย่างไร” พร้อมการวางกลยุทธ์ด้าน Business Continuity และ Disaster Recovery อย่างมีประสิทธิภาพ ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ
ผู้บรรยาย: Saravut Sudsawart, Business Development และ Kittipong Piamalai, Cloud Solution System Engineer จาก Bangkok Systems & Software
เข้าร่วม Webinar นี้เพื่อเรียนรู้ประเด็นดังต่อไปนี้
from:https://www.techtalkthai.com/datto-webinar-what-is-bcdr-video/
Intel ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมสัมมนาและรับฟังข้อมูลของนวัตกรรมใหม่จาก Intel เพื่อพัฒนาธุรกิจของคุณ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างปลอดภัยในยุคดิจิทัล โดยงานจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565 เวลา 10.30 – 11.45 น. รายละเอียดดังนี้
รายละเอียดการบรรยาย
หัวข้อ : พัฒนาธุรกิจให้ล้ำหน้าอย่างปลอดภัยด้วยนวัตกรรมใหม่จาก Intel vPro®
วันเวลา : วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565 เวลา 10.30 – 11.45 น.
ลิงก์ลงทะเบียน : https://us06web.zoom.us/webinar/register/WN_FT5-3HxVRuKNoDMOWEomfQ
เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการทำงานของพนักงานทั้งองค์กรใหญ่และเล็ก ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นการทำงานระยะไกลมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลต่อการวางแผนด้านการดูแล ตอบสนองและซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้อีกหนึ่งปัญหาสำคัญคือความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ทั้งผู้ใช้งานและองค์กรต่างมองหาโซลูชันที่จะช่วยตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่ ให้ทำงานได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยไม่ว่าจะทำงานอยู่ที่ใดก็ตาม
Intel เล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้ จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม Intel vPro® รุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งขับเคลื่อนโดยโปรเซสเซอร์ Intel® Core เจนเนอเรชั่น 12 โดยแพลตฟอร์มใหม่นี้จะช่วยให้ Intel พัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์มเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านเทคโนโลยีที่สามารถใช้ได้ทั้งองค์กรขนาดใหญ่และเล็ก และรองรับการทำงานในทุกภาคธุรกิจ
from:https://www.techtalkthai.com/intel-webinar-052022-intel-vpro/
ด้วยสถานการณ์โควิดที่ยังระบาดอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ หลายๆ บริษัทคงกำลังมองหาวิธีลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจ การเลือกทำ MA ให้กับอุปกรณ์ IT แทนที่จะอัปเกรดอุปกรณ์เป็นรุ่นใหม่ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยเรามาดูกันว่าทำไม ลูกค้าส่วนใหญ่เลือกใช้บริการกับทาง SDC
โดยครอบคลุม การจำหน่าย บริการติดตั้ง บริการให้เช่า และบำรุงดูแลรักษาอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ หรือการให้บริการ MA (Maintenance Agreement Service) ภายใต้แบรนด์ชั้นนำทางด้าน IT อาทิ IBM, Dell, HP, Lenovo, Cisco และอื่นๆ ด้วยความพร้อมและความเชี่ยวชาญ SDC จึงมีธุรกิจองค์กรทั่วไทยตัดสินใจเลือกใช้บริการมากกว่า 300 แห่ง ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมในระยะเวลาเพียง 20 ปี
SDC ให้ความสำคัญกับระบบบริหารจัดการอะไหล่สำรองที่เพียงพอและเหมาะสมกับลูกค้า ตลอดอายุสัญญาการให้บริการ จึงสามารถมั่นใจได้ว่าในระยะเวลาที่ให้บริการ ทาง SDC จะสามารถจัดหาอะไหล่มาทดแทนอุปกรณ์ที่เสียหายได้อย่างแน่นอน และเพื่อความสะอาด ต้านภัยโควิด ทาง SDC มีการฆ่าเชื้อ Spare Part ทุกชิ้น ก่อนส่งมอบให้กับทางลูกค้า
การให้บริการของ SDC นี้ครอบคลุมตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันในแต่ละสัปดาห์ สามารถรับประกัน SLA ได้ถึง 4 ชั่วโมงและมี Response Time ภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น และเพื่อให้การให้บริการมีความโปร่งใสสามารถติดตามได้ ทาง SDC จึงได้มีการจัดเตรียมช่องทางการติดต่อที่หลากหลาย ทั้ง Call Center, LINE Official Account และ Facebook
ไม่เพียงแต่การบริการที่ดีเท่านั้น แต่ SDC ยังได้ออกแบบให้รูปแบบการลงทุนใช้บริการมีความยืดหยุ่น ด้วยการเปิดให้ธุรกิจองค์กรสามารถกำหนด Payment Term ได้ด้วยตนเองให้เหมาะสมกับธุรกิจ และวางแผนการลงทุนใช้จ่ายได้ชัดเจนและง่ายดายยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ผู้ที่สนใจบริการ Hardware Maintenance Agreement Service หรือเทคโนโลยีอื่นๆ ทางด้าน IT Infrastructure สามารถติดต่อทีมงาน SDC ได้ทันทีที่อีเมล marketing@systems.co.th หรือโทร 02-744-1600 หรือ LINE OA @sdc_executive และเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ SDC ได้ที่ http://www.systems.co.th/ma-service/special
from:https://www.techtalkthai.com/it-hardware-maintenance-agreement-service-by-sdc/
IBM ถือเป็น Vendor รายหลักที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านควอนตัวคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง โดยแผนล่าสุดที่บริษัทตั้งเป้าในปี 2025 คือควอนตัวคอมพิวเตอร์ของตนน่าจะสามารถบรรลุความแรงระดับ 4,000 คิวบิตได้
ในงาน IBM Think ที่บอสตัน Arvind Krishna ผู้ดำรงตำแหน่ง CEO ของ IBM ได้เผยถึงแผนการว่าในช่วงระหว่างปี 2023 ถึง 2025 นี้เป็นไปได้ที่หลายองค์กรอาจจะสามารถนำควอนตัมคอมพิวเตอร์เข้าไปแก้ไขปัญหาทั่วไป ยกตัวอย่างเช่นอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าอาจอาศัยความสามารถของควอมตัมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยค้นหาสารที่ช่วยทำให้แบตเตอรี่ดีกว่านี้ได้ รวมไปถึงอุตสาหกรรมยา และการแก้ปัญหา Optimization อื่นๆ
ย้อนกลับไปในผลงานของ IBM ที่ผ่านมาได้เผยถึงควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่ 127 คิวบิตไปเมื่อปีก่อนที่ชื่อ Condor และในปีนี้จะเผยถึงควอนตัมคอมพิวเตอร์ใหม่ที่ชื่อ Osprey ระดับ 433 คิวบิต โดยจากแผนการที่วางไว้ในปี 2020 บริษัทคาดว่าในปี 2023 จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ระดับ 1,121 คิวบิต ซึ่งเคยเผยภาพระบบหล่อเย็นออกมาแล้ว อย่างไรก็ตาม IBM ยังเชื่อว่าเมื่อควอนตัมคอมพิวเตอร์แตะระดับเกิน 1,000 คิวบิต เมื่อนั้นจะเป็นการปลดล็อกเทคโนโลยีนี้สู่การพาณิชย์จริง
ทั้งนี้มีคำถามอีกมากที่ IBM ต้องตกผลึกให้ได้เสียก่อนปลดล็อกสู่เป้า 4,000 คิวบิต เช่น การสเกลระบบ การทำให้เครื่องคุยกันได้ หรือการทำงานร่วมกันกับคลาวด์ แต่ Krishna ก็ยังเปิดเผยว่าทีมงานได้เล็งเห็นทางแก้บ้างแล้ว ก็ต้องติดตามดูกันต่อไปนะครับถึงเรื่องราวที่บริษัทเหล่านี้คุยไว้ว่าจะมีทิศทางอย่างไรต่อไป
ที่มา : https://www.zdnet.com/article/ibm-promises-a-4000-qubit-quantum-computer-by-2025-heres-what-it-means/
from:https://www.techtalkthai.com/ibm-quantum-computer-roadmap-2025-for-4000-qubits/
Samsung เปิดตัว Universal Flash Storage (UFS) 4.0 สำหรับอุปกรณ์พกพา ความเร็วเพิ่มขึ้น 2 เท่า
Samsung Universal Flash Storage (UFS) 4.0 ใช้ชิป Samsung 7th V-NAND เป็นตัวจัดเก็บข้อมูล มีความเร็วในการอ่านและเขียนที่ 4,200MB/s และ 2,800 MB/s ตามลำดับ ซึ่งมากกว่า UFS 3.1 ถึงสองเท่า นอกจากนี้ยังประหยัดพลังงานกว่า 46% และมาพร้อมเทคโนโลยี Replay Protected Memory Block (RPMB) เพื่อป้องกันการโจมตีแบบ Replay attacks สำหรับ UFS 4.0 มีความจุสูงสุดให้เลือกที่ 1TB
ปัจจุบัน JEDEC ได้อนุมัติให้ UFS 4.0 เป็นมาตรฐานในการใช้งานเป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลภายในอุปกรณ์พกพาแล้ว เช่น Smartphone หรือ Tablet เพื่อตอบรับการใช้งานระบบ 5G, AR และ VR โดยคาดว่าจะสามารถผลิตออกมาให้ใช้งานภายในไตรมาสที่ 3 ปีนี้
ที่มา: https://www.zdnet.com/article/samsung-here-comes-our-super-fast-ufs-4-0-flash-storage/
from:https://www.techtalkthai.com/samsung-announces-new-universal-flash-storage-4-0-for-mobile-devices/
Dell ประกาศเสริมฟีเจอร์ใหม่กว่า 500 รายการ ให้กับ PowerStore, PowerMax และ PowerFlex
Dell ได้ประกาศเสริมความสามารถในโซลูชันฝั่ง Storage ใหม่ ด้วยการเพิ่มฟีเจอร์มากกว่า 500 รายการ ให้กับ Dell PowerStore, PowerMax และ PowerFlex โดยเป็นการเพิ่มความสามารถทางด้าน Intelligence, Automation, Data Mobility และ Security โดยฟีเจอร์เด่นของแต่ละโซลูชันมีดังนี้
สำหรับฟีเจอร์ใหม่ทั้งหมด Dell จะเปิดให้ใช้งานในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2022
from:https://www.techtalkthai.com/dell-enhances-dell-powerstore-powermax-and-powerflex/
การปรับระบบ IT Infrastructure เพื่อมุ่งหน้าสู่โลกยุค Multi-Cloud และ Hybrid Working นั้นได้กลายเป็นสิ่งที่ฝ่าย IT ของธุรกิจองค์กรทุกแห่งกำลังให้ความสำคัญ
Windows Server 2022 ที่ได้เข้าสู่สถานะ GA เมื่อปลายปี 2022 ได้กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหลักในการวางระบบ IT Infrastructure ภายในองค์กรเพื่อบริหารจัดการและดูแลรักษาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อระบบ IT ไปจนถึงเครื่อง
Client ภายในองค์กร
และสำหรับธุรกิจองค์กรที่สนใจอัปเกรดระบบไปสู่ Windows Server 2022 อย่างเต็มตัว Dell Technologies ก็พร้อมตอบโจทย์นี้ด้วย Dell PowerEdge Servers 15G ที่รองรับการติดตั้ง Windows Server 2022 ได้อย่างสมบูรณ์
ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับความโดดเด่นของ Windows Server 2022 ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจองค์กร พร้อมความสามารถของ Dell PowerEdge Servers 15G ที่จะช่วยเสริมให้ระบบ IT Infrastructure ของธุรกิจองค์กรมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น
Windows Server 2022: ตอบโจทย์การวางระบบ IT Infrastructure สำหรับธุรกิจองค์กรแห่งอนาคตได้อย่างครบถ้วน
Windows Server 2022 เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับ Server ระดับธุรกิจองค์กรล่าสุดจาก Microsoft ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การวางระบบ IT Infrastructure ในยุค Multi-Cloud และ Hybrid Work โดยเฉพาะ พร้อมเสริมความมั่นคงปลอดภัยครั้งใหญ่ ซึ่งโดยรวมแล้วมีจุดเด่นที่น่าสนใจ ดังนี้.
1. Advanced Multilayer Security
ด้วยแนวคิด Secured-core Server อุปกรณ์ Server จากพันธมิตร OEM ของ Microsoft นั้นจะได้รับการรับรองถึงความสามารถทางด้าน Security ที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับ Hardware, Firmware และ Driver เช่น
นอกจากนี้ Windows Server 2022 ยังมาพร้อมกับแนวคิด Secure Connectivity ที่ช่วยเสริมความมั่นคงปลอดภัยให้กับทุกการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย ได้แก่
2. Hybrid Capabilities with Azure Arc
Windows Server 2022 ยังได้เสริมความสามารถด้าน Hybrid Cloud เพื่อตอบรับต่อโลกยุค Hybrid Multi-Cloud ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมีความสามารถที่น่าสนใจเช่น
สามารถบริหารจัดการและเชื่อมต่อ Windows Server เข้ากับ Microsoft Azure เสมือนเป็นทรัพยากรส่วนหนึ่งของ Azure ได้โดยตรง
ปรับปรุงระบบบริหารจัดการเพิ่มเติมโดยเพิ่มความสามารถในส่วนของการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับ Secured-Core และอื่นๆ อีกมากมาย
ความสามารถใหม่บน Windows Server 2022 Datacenter: Azure Edition ที่จะช่วยให้สามารถอัปเดต Windows Server Azure Edition VM ได้โดยไม่ต้องทำการ Reboot ระบบ
3. Flexible Application Platform
ภายใน Windows Server 2022 นี้ได้มีการเสริมความสามารถใหม่ๆ ให้ระบบสามารถรองรับ Workload ใหม่ๆ ได้ดียิ่งขึ้น เช่น
จะเห็นได้ว่าความสามารถใหม่ๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมาอย่างมากมายบน Windows Server 2022 นี้ สามารถช่วยให้ธุรกิจองค์กรทำงานได้อย่างสะดวก ยืดหยุ่น และมั่นใจยิ่งขึ้น ทั้งด้วยความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เพิ่มเข้ามา, การตอบโจทย์ด้าน Hybrid Cloud และการรองรับ Workload ใหม่ๆ ในองค์กรได้อย่างดียิ่งขึ้น
Dell PowerEdge Servers 15G: วางระบบ IT Infrastructure ที่ยืดหยุ่น, คุ้มค่า และมั่นคงปลอดภัย
ในส่วนของ Hardware ทาง Dell Technologies ก็ได้มีการเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าไปใน Dell PowerEdge Servers 15G อย่างหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์สำหรับเหล่าผู้ดูแลระบบ IT ในการบริหารจัดการ และภาคธุรกิจที่ต้องการลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน ด้วยการชูแนวคิด 3 ประการ ได้แก่
1. Adaptive Compute – การรองรับอุปกรณ์ต่างๆในเครื่องแม่ข่าย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่หลากหลาย
อุปกรณ์ในปัจจุบันต้องสามารถรองรับ Workload หรือการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ดังนั้น เครื่องแม่ข่ายที่นำมาใช้ ต้องสามารถติดตั้งอุปกรณ์ที่มีความหลากหลาย และ รองรับในปริมาณที่ทำให้การใช้งานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น CPU รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพ, ความจุของหน่วยเก็บความจำ RAM ที่ใส่ได้เพิ่มมากขึ้น, การรองรับ GPU ที่เพิ่มมากขึ้น ซี่ง GPU เป็นอุปกรณ์ที่หลายๆ Workload ต้องการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงระบบการจัดการความร้อนที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการระบายความร้อนด้วยของเหลว หรือ พัดลมที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งเครื่องแม่ข่ายของ Dell Technologies นั้นได้ออกแบบเครื่องแม่ข่ายให้มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดตามที่กล่าวมาข้างต้น
2. Autonomous Compute Infrastructure – ระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยเหลือในการใช้งาน
ระบบอัตโนมัติเริ่มแพร่หลายเพื่อช่วยในการบริหารจัดการ อีกทั้งยังช่วยลดความผิดพลาดส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอีกด้วย ในปัจจุบัน
Dell Technologies จึงมีระบบอัตโนมัติในหลากหลายรูปแบบเพื่อเข้ามาช่วยทำให้การดูแลระบบเป็นไปอย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ส่วนแรกจะกล่าวถึงระบบจัดการที่ใช้งานควบคู่ไปกับเครื่องแม่ข่ายของ Dell Technologies คือ Dell OpenManage Enterprise ซึ่งมีส่วนช่วยในการทำงานดังนี้
ส่วนถัดมาคือระบบประสานงานกับหน่วยปฏิบัตการ (Operating Systems) และระบบการจัดการอื่นๆ (Management Tools) เพื่อช่วยเหลือในการบริหารจัดการเครื่องแม่ข่ายผ่านหน้าบริหารจัดการของระบบปฏิบัติการที่ใช้อยู่เพียง Console เดียว เพื่อเพิ่มความสะดวกและลดระยะเวลาในการบริหารจัดการ รวมถึงยังสามารถใช้งานคุณสมบัติ (Feature) ต่างๆ ผ่านหน้าระบบจัดการได้อย่างมีประสิทธภาพ และมีหลากหลายตัวดังนี้
3. Proactive Resilience – ระบบรักษาความปลอดภัยและการป้องกันเชิงรุก
ระบบรักษาความปลอดภัยและการป้องกันเป็นสิ่งที่ต้องตื่นตัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันมีการโจรกรรมข้อมูลและทำให้ระบบและธุรกิจมีความเสียหาย เราจึงต้องมุ่งเน้นในเรื่องการป้องกันเป็นอย่างมาก Dell Technologies จึงมีระบบที่ติดตั้งมาให้พร้อมกับเครื่องแม่ข่าย เพื่อป้องกันและจัดการความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น
ที่กล่าวไปนั้นเป็นเพียงบางส่วนของระบบการรักษาความปลอดภัยของเครื่องแม่ข่าย Dell Technologies เท่านั้น จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่าเครื่องแม่ข่ายของ Dell Technologies นั้นสามารถตอบโจทย์และมีระบบช่วยเหลือ จัดการให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความมั่นใจในระบบความปลอดภัยสูงสุด
สำหรับ Dell PowerEdge Servers 15G รุ่นที่ผ่านการรองรับการทำงานร่วมกับ Windows Server 2022 ได้นั้น สามารถตรวจสอบได้ที่ https://dl.dell.com/manuals/all-products/esuprt_solutions_int/esuprt_solutions_int_solutions_resources/s-solution-resources_white-papers2_en-us.pdf
สนใจโซลูชัน Windows Server 2022 และ Dell PowerEdge Servers 15G ติดต่อทีมงาน
Dell Technologies ประจำประเทศไทยได้ทันทีที่ อีเมล DellTechnologies@kkudos.com โทร 090-949-0823 (วศิน)
ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มสูงขึ้น และส่งผลกระทบในวงกว้างกับธุรกิจทุกภาคส่วน ในปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ารูปแบบของ Cyber Threat มีปรับเปลี่ยนทั้งเพิ่มความซับซ้อนทางด้านเทคนิค มีผลรุนแรงมากขึ้นทั้งกระทบกับธุรกิจ และผู้ใช้บริการ ดังที่เห็นในหลายกรณีศึกษาเช่น Source Code Leak ที่เกิดบนการพัฒนาระบบบน Cloud, Ransomware Attack องค์กรใหญ่ ๆ, Customer Data Leak ที่เกิดจากการโจมตี Critical Vulnerability, และ SMS Phishing Attack ที่เกิดกับหลายองค์กรในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งหมดเป็นข้อมูลยืนยันถึง บทบาทของเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่ต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้นเพื่อพร้อมรับความท้าทายที่จะเกิด
จากกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่ได้เป็นข่าวทางสื่อต่าง ๆ นั้น จะพบว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น มักจะมีเหตุการณ์เกี่ยวกับข้อมูลรั่วไหล ข้อมูลสูญหาย หรือขโมยข้อมูล (Data Breach Loss or Theft) สูงที่สุด รองลงมาเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับการโจมตีของมัลแวร์ในรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่มุ่งเป้าไปที่ข้อมูล (Malicious Code Attack) ส่วนการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต (Unauthorized Access) การใช้งานไม่เหมาะสม การฉ้อโกง (Inappropriate Usage & Fraud) รวมไปถึงการใช้เทคนิคการหลอกลวง (Social Engineering) ก็ยังคงมีมาให้เห็นกันเป็นระยะ ๆ
จากเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลทั่วโลก ได้มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการรั่วไหลของข้อมูล พบว่าสาเหตุหลักเกิดจากเจาะระบบซึ่งแบ่งประเภทของการ Threat Actor ดังนี้
สาเหตุที่องค์กรมักได้รับผลกระทบจากการถูกมัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตีมีหลายปัจจัย ดังเช่น
สิ่งแรกที่ทุกองค์กรควรพิจารณาคือการปรับแนวความคิดที่ว่า ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นบทบาทความรับผิดชอบเชิงเทคนิคที่ให้ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบเท่านั้น ทั้งนี้การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านไซเบอร์ควรเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับองค์กรเพื่อที่องค์กรจะได้วางแผนการรับมือกับภัยไซเบอร์ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ที่สำคัญคือ ไม่ควรยึดหลักการ One-Size-fits-All แต่ควรปรับให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความซับซ้อนของแต่ละองค์กร เพื่อให้การบริหารจัดการแบบบูรณาการ โดยให้ฝ่ายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมด้วยทุกฝ่าย
แนวทางการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ มีหลัก ๆ ดังนี้
ในบทความนี้ เดลล์ เทคโนโลยีส์ และ อินเทลคอร์ปอเรชัน จะมุ่งเน้นในส่วนของการรับมือกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) ด้วยผลิตภันฑ์ Power Protect Cyber Recovery ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกพัฒนามาจากพื้นฐานของการวางระบบรักษาความปลอดภัยซึ่งอ้างอิงมากจากสถาบัน National Institute of Standards and Technology (NIST) ที่มุ่งเน้นในการฟื้นฟูระบบจากการถูกคุกคามไซเบอร์ด้วยกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware โดยที่ Power Protect Cyber Recovery นั้น มีแนวทางในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้วยวิธีการดังนี้
ทั้งนี้หาก CyberSense Machine Learning ตรวจสอบแล้วพบว่ามีความผิดปกติจะทำการแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลระบบ เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทำการตรวจสอบและเร่งหาทางแก้ไขหรือฟื้นฟูระบบในลำดับถัดไป
นอกเหนือไปจากแนวทางในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้วยที่จัดเก็บอยู่ในระบบสำรองข้อมูลเพื่อรับมือภัยไซเบอร์ดังที่กล่าวมาแล้ว ในส่วนของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (PowerProtect DD) นั้น ยังมีกลไกการควบคุมการเข้าถึงเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลสำรองในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (PowerProtect DD) โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยให้สิทธิ์เฉพาะผู้ใช้ที่ได้รับมอบหมายบทบาทในฐานะผู้ดูแลระบบเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำการกำหนดค่า (Configure) และบริหารจัดการอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (PowerProtect DD) ได้ นอกเหนือไปจากนี้ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (PowerProtect DD) ยังมีความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูล การเข้ารหัสข้อมูลจะช่วยปกป้องข้อมูลที่จัดเก็บไว้จากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต หากเกิดเหตุที่พยายามเข้าถึงข้อมูลจะต้องมีกุญแจถอดรหัสที่สร้างขึ้น อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (PowerProtect DD) รองรับมาตรฐาน FIPS 140-2 Federal Information Processing Standard (FIPS) เป็นมาตรฐานและแนวทางสำหรับการประมวลผลข้อมูลที่อีกด้วย Power Protech Cyber Recovery จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับองค์กรได้ว่า เมื่อองค์กรต้องรับมือกับเหตุสุดวิสัยจากการถูกคุกคามไซเบอร์ จะสามารถฟื้นฟูระบบกลับมาได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ส่งผลกระทบกับการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กรน้อยที่สุด
สำหรับอินเทลเองก็ให้ความสำคัญอย่างมาก และเน้นในเรื่อง นวัตกรรมการรักษาความปลอดภัยที่ระดับการแกนกลางของอินเทล การรักษาความปลอดภัยเป็นคุณสมบัติของระบบที่ฝังรากอยู่ในฮาร์ดแวร์ โดยทุกองค์ประกอบตั้งแต่ซอฟต์แวร์ไปจนถึงซิลิคอนมีบทบาทในการช่วยให้ข้อมูลปลอดภัยและรักษาความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ อินเทลมีชุดเทคโนโลยีที่จะสร้างและดำเนินการตามกลยุทธ์การป้องกันในเชิงลึก ด้วยโซลูชันที่ครอบคลุมการตรวจจับภัยคุกคาม การปกป้องข้อมูล/เนื้อหา การป้องกันหน่วยความจำ และอื่นๆ
โซลูชันการรักษาความปลอดภัยของอินเทล ตอบสนองความท้าทายเฉพาะโดยเน้นที่ความสำคัญหลักสามประการ
นวัตกรรมเหล่านี้ร่วมกันช่วยขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของเราสำหรับโลกที่มีการเข้ารหัสข้อมูลทั้งหมด
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.dell.com/en-th/dt/data-protection/cyber-recovery-solution.htm
สนใจโซลูชัน Cyber Security Solutions ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมกับทีมงาน Dell Technologies ประจำประเทศไทย ได้ทันทีที่ อีเมล DellTechnologies@kkudos.com โทร 090-949-0823 (วศิน)
from:https://www.techtalkthai.com/cyber-resilience-principles-052022/