การทำ Caching จะช่วยลดการ Request ของผู้ใช้จากการวิ่งตรงเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์จริง (Origin) ซึ่งโดยทั่วไปจะเลือกให้ Data Center เป็น Reverse Proxy ตามรูปประกอบด้านบน อย่างไรก็ดีต้องเข้าใจก่อนว่าหากเรียกข้อมูลใน Cache ใน Data Center ไม่เจอ (Cache Miss) ก็ต้องมีการไป Copy ข้อมูลมาจากเซิร์ฟเวอร์จริงอยู่ดี แม้ว่าจะมีข้อมูลอยู่ใน Data Center อื่นก็ตาม แต่ด้วยความที่ไม่รู้จักข้อมูลซึ่งกันและกัน สุดท้ายแล้ว Cloudflare จึงได้คิดวิธีการแก้ปัญหาเรื่องการลดอัตราการเกิด Cache Miss และสร้างเส้นทางที่ดีที่สุดให้แก่การ Request ด้วย Tiered Cache
Tiered Cache มีไอเดียเหมือน Tree Structure (ลด Cost ของการ Search) คือเลือก Data Center หนึ่งมาเป็น Cache ให้ Data Center อื่นๆ (ตามภาพประกอบด้านล่าง) โดยวิธีการเลือกว่าจะให้ Data Center ไหนเป็น Cache หลักจะอยู่ภายใต้ส่วนที่เรียกว่า Topology อย่างไรก็ดีปัญหาคือวิธีการนี้ยังไม่ดีที่สุดเพราะบางทีเส้นทางของเซิร์ฟเวอร์ปลายทางของลูกค้า Cloudflare ไม่อาจรู้ได้จึงไม่เห็นภาพรวม ดังนั้นบางองค์กรก็ต้องทำงานร่วมกับ Cloudflare เพื่อประกอบให้ได้กระบวนการที่เหมาะสม
ด้วยเหตุนี้เองปกติแล้ว Cloudflare ก็พยายามใช้ Topology กลางๆ (Generic) ที่ได้ผลดีประมาณนึง ให้สามารถบาลานซ์ความเป็นกลางของ Latency และอัตราของ Cache Hit ซึ่งโดยไอเดียก็คือมักเลือก Data Center ที่มีขนาดใหญ่และอยู่ใน Geolocation เดียวกันเป็นตัวแทนของเซิร์ฟเวอร์จริง รวมถึงมีวิธีการจัดการปัญหาหาก Data Center ที่เป็น Cache ล่มไป
สำหรับ IT แล้ววิกฤตครั้งนี้นับว่ามีความท้าทายอย่างมาก แต่ก็กระตุ้นให้ CIO และผู้บริหารระดับสูงขององค์กรได้ตระหนักถึงผลกระทบที่ IT จะมีต่อธุรกิจ รวมถึงความรวดเร็วในการติดตั้งและใช้งานระบบใหม่ ๆ ซึ่งต้องดำเนินการได้แม้ในสถานการณ์ที่กดดัน
ตอนนี้ CEO รวมถึงผู้บริหารระดับสูง กำลังคิดถึงบทเรียนที่ได้รับจากการระบาดครั้งใหญ่นี้เพื่อให้ระบบเครือข่าย, ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัย และโครงการทางด้าน IT มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น
ซึ่งผลลัพธ์ก็คือการที่ฝ่าย IT ได้เข้าไปมีบทบาทในการผลักดันการทำ Digital Transformationมากขึ้น รวมถึงยังมีส่วนในการเร่งแผนงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ท่ามกลางความมั่นใจของพนักงานในองค์กรที่ต้องปรับตัวไปสู่ ความปรกติรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ได้นั่นเอง
มุมมองต่อความมั่นคงปลอดภัยที่ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด – จาก Endpoint ไปยัง the Edge ไปจนถึง the Cloud
เช่น ในศูนย์ข้อมูลซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ WAN หรือ LAN การนำระบบอัตโนมัติไปใช้จะง่ายและทำได้มากกว่าเพราะการเปลี่ยนแปลงในศูนย์ข้อมูลส่วนใหญ่เกิดตามโครงสร้างลำดับชั้นโดยธรรมชาติของมัน ดังนั้นจึงง่ายต่อการทำความเข้าใจและจัดการผ่านสคริปต์ที่เขียนให้ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ
แต่ในทางกลับกัน Edge (ทั้ง LAN และ WAN) เป็นสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากปัจจัยที่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมของ IT โดยสิ้นเชิง นั่นคือรูปแบบพฤติกรรมของมนุษย์และอุปกรณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการใช้ประโยชน์จาก AI และ Machine Learning เพื่อรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงได้ทันทีที่เกิดขึ้นและตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดในช่วงเวลาสั้น ๆ นั้นในทันที การเติบโตของโซลูชันซึ่งมีองค์ประกอบของการเรียนรู้แบบอัตโนมัติที่ Edge จะดีขึ้นอย่างมากในปี 2564 นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าที่สำคัญในการรวมสิ่งเหล่านี้เข้ากับ API และเครื่องมืออัตโนมัติอื่น ๆ ซึ่งจะมอบประสิทธิภาพและข้อมูลเชิงลึกที่ผู้นำด้าน IT ต้องการ
Proen ขอเรียนเชิญผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน IT Network & Security เข้าร่วมฟัง Webinar เรื่อง “Networking Zero to Expert: The Tools Used by Experts in Their Day-to-day Operations” พร้อมแนะนำเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ SaaS และการทำงานแบบรีโมตบนหลายๆ IT Platform ให้สะดวก รวดเร็ว และมั่นคงปลอดภัยด้วยสถาปัตยกรรม SASE ในวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2021 ผ่านช่องทาง Live Webinar ฟรี
รายละเอียดการบรรยาย
หัวข้อ: Networking Zero to Expert: The Tools used by Experts in Their Day-to-day Operations ผู้บรรยาย: Visrut Manunpon (Vice President – Business Development) และ Chawanat Nipattamanon (Senior System Engineer) จาก Proen Corp PCL วันเวลา: วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2021 เวลา 14:00 – 15:30 น. ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference จำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุด: 500 คน ภาษา: ไทย ลิงค์ลงทะเบียน:https://zoom.us/webinar/register/WN_CBm7O3fuRAKQQcb-IiTkBg
ภายใน Webinar นี้ ท่านจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้แอปพลิเคชัน SaaS ไม่ว่าจะเป็น O365, Zoom, Video Conference, VoIP และอื่นๆ พร้อมแนะนำเทคนิคการทำงานแบบรีโมต ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ บนหลายๆ IT Platforms ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมั่นคงปลอดภัยผ่านสถาปัตกรรมเครือข่ายแบบ Secure Access Service Edge (SASE) รวมไปถึงการบูรณาการเครื่องมือเข้าด้วยกันเพื่อให้การวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาสามารถทำได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ไม่ต้องเสียเวลาคาดเดา
บทความนี้จะกล่าวถึง AI for IT Operations หรือ AIOps ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการปฏิบัติการด้าน IT มันจะช่วยให้ธุรกิจของท่านล้ำหน้าคู่แข่ง ในบทความนี้ท่านจะทราบว่า AIOps คืออะไร และทำไมผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการด้าน IT จำเป็นต้องสนใจ ท่านจะรู้จักฟังก์ชั่นการทำงาน และประโยชน์ของ AIOps Platform ทั้งด้าน IT Monitoring, IT Service Management และ IT Automation ฟังดูน่าสนใจนะครับ ลองติดตามอ่านกันได้เลยครับ
IT Operations คืออะไร และความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับงาน IT Operations คืออะไร
ปัจจุบันการปฏิบัติการด้าน IT หรือ IT Operations ครอบคลุมการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่างๆ ได้แก่
IT Infrastructure Management (ITIM)
IT Service Management (ITSM)
Network Performance Monitoring and Diagnostics (NPMD)
Security Information and Event Management (SIEM)
Application Performance Monitoring (APM)
Digital Experience Monitoring (DEM)
ในโลกยุคปัจจุบันที่ธุรกิจขับเคลื่อนด้วย Digital Technology การปฏิบัติการด้าน IT operations มีความท้าทาย 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ
การมีเครื่องมือบริหารจัดการและเฝ้าระวังด้าน IT หลายตัวเพื่อบริหารจัดการด้านต่างๆ ได้แก่ ITIM, ITSM, NPMD, SIEM, APM, DEM กลับเพิ่มเวลาในการหาสาเหตุและแก้ไขปัญหา เนื่องจากมีรอยต่อในการทำงานระหว่างระบบหรือเครื่องมือต่างๆ
การปฏิบัติการด้าน IT โดยส่วนใหญ่มุ่งตอบโจทย์เฉพาะฝ่าย IT โดยมักจะขาดการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่ส่งผลต่อธุรกิจ และไม่ทราบประสบการณ์การใช้งานด้านดิจิทัล (Digital Experience) ของผู้ใช้งานหรือลูกค้า
แล้ว AIOps คืออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับ IT Operations