สำหรับคนที่ใช้แอพ LINE เป็นประจำแล้วไม่ชอบหรือรำคาญแท็บ LINE Today ฟีเจอร์อ่านข่าวของแอพไลน์ วันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีซ่อนปุ่มหรือไอค่อนของ LINE Today ออกไปจากหน้าแรกของแอพ ไม่ให้เผลอไปกดโดนให้เสียความรู้สึก
ไอค่อน LINE Today ที่หน้าแรก
ไปที่การตั้งค่าของ LINE (อยู่ที่แท็บแรก มุมขวาบน) จากนั้นไปที่ Calls
ใครใช้แอป LINE ในการ Call สนทนาจะเห็นว่ามีข้อความ “Full HD voice” โผล่ขึ้นมา นั่นหมายความว่าเรากำลังสนทนาด้วยคุณภาพเสียงสูงอยู่ ช่วยให้ได้ยินเสียงกันชัดขึ้น Full HD voice ใน LINE คุยกันได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น ฟีเจอร์ “Full HD voice” จะถูกเปิดใช้ระหว่างที่ผู้ใช้ Call, VDO Call สนทนากันผ่านแอป LINE โดยถ้าข้อความ Full HD voice เป็นสีเขียวนั่นหมายความว่า เสียงระหว่างการสนทนามีคุณภาพสูงอยู่ (แต่ถ้าอินเทอร์เน็ต, เครือข่ายไม่เสถียรก็จะขึ้นเป็นสีเทา) Full HD voice เปิดใช้งานทั้งแอป LINE บน Smartphone และโปรแกรม LINE บนคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน หากต้องการใช้ฟีเจอร์นี้ก็สามารถอัปเดตแอป LINE สำหรับ iOS ที่ App Store หรือโปรแกรมให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดก็จะสามารถใช้งานได้
เฟซบุ๊กของคุณ Jirawat Karanwittayakarn หนึ่งในโปรแกรมเมอร์ของ LINE ได้โพสต์ฟีเจอร์ใหม่ ของ LINE บนเวอร์ชั่น PC และ Mac [ยังไม่ใช่เวอร์ชั่นมือถือ/แท็บเล็ตนะครับ] เป็นฟีเจอร์ OCR (Optical character recognition) หรือเป็นฟีเจอร์ที่ใช้แปลงข้อความในรูปภาพให้เป็นตัวหนังสือได้ทันที ซึ่งมีจุดที่น่าสนใจที่รองรับการอ่านข้อความที่เป็นภาษาไทยด้วยครับ !
• LINE TV ประกาศวิสัยทัศน์ปี 2562-2564 สู่การเป็นแพลตฟอร์มทีวีออนไลน์สำหรับคนไทย ตั้งเป้าปี 2562 ขยายฐานผู้ชมทั่วประเทศด้วยคอนเทนต์ และผู้ผลิตรายใหม่
• LINE TV ยังคงรั้งอันดับหนึ่งตั้งแต่ปี 2560 แพลตฟอร์มรับชมทีวีย้อนหลัง โดยกว่าร้อยละ 65 ของผู้ชมทีวีย้อนหลัง คือผู้ชม LINE TV
• พฤติกรรมการรับชม LINE TV ใกล้เคียงกับการดูทีวี ทั้งการเข้าถึงและระยะเวลารับชมต่อวัน โดยครอบคลุม 60% และ 75% ของผู้ชมทางทีวี
• มูลค่าโฆษณาบน LINE TV เติบโตกว่า 100% และสูงถึง 400% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 เมื่อเทียบกับปีก่อนโดยมีผู้ลงโฆษณาอันดับต้นๆ เป็นผลิตภัณฑ์ความงามและอุปโภคบริโภค
LINE TV แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ชั้นนำของไทยเผยกลยุทธ์ธุรกิจประจำปีในงาน LINE TV NEXPLOSION 2019 ตั้งเป้าเป็นผู้ให้บริการ ‘ทีวีออนไลน์’ เพื่อคนไทยโดยนำเสนอทั้งการรับชมทีวีย้อนหลัง และคอนเทนต์ที่มีการนำเสนอบนแพลนตฟอร์ม LINE TV เท่านั้น เพื่อให้ผู้ชมได้รับชมฟรี ทุกที่ทุกเวลา ครบครันไปด้วยคอนเทนต์ทั้งละคร รายการบันเทิง รายการวาไรตี้โชว์ รวมทั้งออริจินอลคอนเทนต์ที่ซึ่งผลิตโดยสถานีโทรทัศน์ และผู้ผลิตชั้นนำของประเทศ
นอกจากจะมียอดการรับชมที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (เฉลี่ยยอดรับชมเพิ่มขึ้น 80% จากปีก่อน) LINE TV ยังเป็นแพลตฟอร์มโฆษณาชั้นนำในกลุ่มนักการตลาดด้วย โดยในปี 2561 ที่ผ่านมา สถิติโฆษณาบนแพลตฟอร์ม LINE TV มีอัตราเข้าชมสูงขึ้นถึง 2 เท่า รวมไปถึงความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคก็เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบในภาพรวม มูลค่าโฆษณาที่ลงทุนกับ LINE TV จึงถือว่าเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยประสบความสำเร็จเฉลี่ยถึง100% ต่อปี นับตั้งแต่เปิดให้บริการ
กวิน ตั้งอุทัยศักดิ์ ผู้อำนวยการธุรกิจคอนเทนต์ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า จากความตื่นตัวต่อจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมสื่อในช่วงที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า LINE TV เข้ามาเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมทีวี โดยมีการส่งเสริมกันในเรื่องของทีวีเรตติ้ง อีกทั้งยังมีการลงทุนร่วมกันในการผลิตคอนเทนต์ต่างๆอีกด้วย โดยหลังจากเปิดตัวเมื่อปี 2557 ปัจจุบัน LINE TV คือหนึ่งในผู้นำแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ระดับคุณภาพของไทย และเป็นอันดับหนึ่งของช่องทางรับชมรายการทีวีย้อนหลัง และจากยอดการเข้าถึงข้อมูลเมื่อเทียบกับสื่อโทรทัศน์ กลุ่มผู้ใช้ LINE TV จัดเป็นกลุ่มที่มีการเข้าถึงข้อมูลสูงมาก ดังนั้นทั้งผู้ผลิตคอนเทนต์ รวมถึงธุรกิจในรูปแบบเดียวกัน จึงหันมาให้ความสนใจ LINE TV ในการเข้าถึงคนรุ่นใหม่ ซึ่งรับชมทีวีผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่เป็นหลัก (ปัจจุบันมีผู้ชมรายการทีวีผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ อยู่ที่ 49%) อีกทั้งออริจินอลคอนเทนต์ของ LINE TV ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์เพียงรายเดียว ก็ได้รับการยอมรับบนเวที Asian Television Awards 2017/2018 จึงยิ่งตอกย้ำว่ารายการบน LINE TV นั้น มีคุณภาพเทียบเท่ากับการผลิตรายการโทรทัศน์เลยทีเดียว
ในงาน NEXPLOSION 2019 ทาง LINE TV ยังได้ประกาศวิสัยทัศน์ธุรกิจสำหรับปี 2562-2564 ตั้งเป้าสู่การเป็น ‘แพลตฟอร์มทีวีออนไลน์ของคนไทย’ โดยมีกลยุทธสำคัญคือเน้นการนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจของผู้ชมทั่วประเทศ ทั้งในส่วนของรายการทีวีย้อนหลัง ออริจินอลคอนเทนต์ แอนิเมชั่น และดนตรี โดยปรับให้เข้ากับความชอบของแต่ละบุคคล
และเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในด้านผู้นำแลพตฟอร์มการชมรายการทีวีย้อนหลัง LINE TV ยังได้ขยายความร่วมมือไปยังพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ เช่น ช่อง 8 และ PPTV ในขณะเดียวกับที่ยังคงตอกย้ำความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับพาร์ทเนอร์เดิมที่มีอยู่อย่างเช่น ช่องวัน 31, จีเอ็มเอ็มทีวี, กันตนา, นาดาวบางกอก และช่อง 3 เป็นต้น เพื่อนำเสนอคอนเทนต์พิเศษที่หลากหลายให้เข้ากับฐานผู้ชมที่เติบโตขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมคอนเทนต์ใหม่ๆ สำหรับ LINE TV Originals จากความร่วมมือกับผู้ผลิตชั้นนำ ทั้ง ‘Great Men Academy’ ซีรีส์จากนาดาวบางกอก และ ‘Infinite Challenge Thailand’ รายการบันเทิงยอดนิยมจากเกาหลีใต้ในเวอร์ชั่นไทยจากเวิร์คพ้อยต์ ด้านกลยุทธสำคัญอื่นๆ คือมุ่งเน้นการนำเสนอคอนเทนต์แอนิเมชันใหม่ๆ เพื่อขยายฐานกลุ่มผู้ชมเพศชาย รวมทั้งการทำคอนเทนต์ที่จับกลุ่มแฟนเพลงศิลปินลูกทุ่ง เพื่อจับกลุ่มผู้ชมในกลุ่มแมสให้มากขึ้นอีกด้วย
นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายขายและสื่อโฆษณา LINE ประเทศไทย ยังได้เผยถึง Thailand Movement 2018 ซึ่งจะประกาศผลิตภัณฑ์โฆษณาตัวใหม่ ที่จะช่วยให้นักการตลาดดึงดูดความสนใจจากลุกค้า และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น
“จากผลสำรวจโดย Kantar Milward Brown ปี 2562 เผยว่า ปัจจุบัน LINE TV คือ ‘ทีวีออนไลน์อันดับหนึ่งในใจ’ ของคนไทย และจากคอนเทนต์คุณภาพที่เรานำเสนอผ่าน LINE TV ก็ยิ่งทำให้มีผู้ติดตามชมรายการผ่านแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการรับชมโฆษณามีรูปแบบเช่นเดียวกับการรับชมผ่านทีวีในอดีต ซึ่ง ‘การรับชมต่อเนื่อง’ นี้ส่งผลให้มียอดรับชมโฆษณาเพิ่มเป็น 2 เท่า ทั้งในแง่ของการตั้งใจรับชมและโอกาสในการรับชม” นรสิทธิ์กล่าว
ในปี 2561 ที่ผ่านมา มีแบรนด์ระดับโลกทั้งผลิตภัณฑ์ความงามและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ลงงบโฆษณากับ LINE TV เป็นมูลค่าเพิ่มถึง 100% จากมูลค่าในปี 2560 ตามมาด้วยผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี และอีคอมเมิร์ส ด้วยยอดเติบโต 40% และมียอดโฆษณาทาง LINE TV สูงสุดในไตรมาส 4 ของปี 2561 โดยเติบโตถึง 400% จากไตรมาส 4 ของปีก่อน
สำหรับปี 2562 LINE TV เตรียมแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ และการวางแผนโฆษณาทั้งทางทีวีและสื่อดิจิตอล ซึ่งรวมไปถึง การแทรกโฆษณาสินค้า วีทีอาร์ โฆษณาก่อนและหลังเนื้อหา ซึ่งพบว่ายอดรับชมโฆษณาหลังจบเนื้อหาช่วยเพิ่มยอดวิวถึง 20% เมื่อเทียบกับโฆษณาประเภทอื่น จึงยิ่งตอบสนองความต้องการของนักการตลาดที่อยากดึงความสนใจจากผู้ชมในจำนวนมากขึ้น ที่สำคัญ LINE TV ยังเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์เพียงแห่งเดียวที่สามารถดึงดูดผู้ลงโฆษณาโดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ต่อแบรนด์อีกด้วย
ถือเป็นการเดิมพันของ Line ที่เทงบกว่า 182 ล้านเหรียญสหรัฐหรือมากกว่า 5,729 ล้านบาทในการลงทุนธุรกิจชำระเงินบนแอปพลิเคชันของตัวเองอย่าง Line Pay โดยตัวเลขนี้ปรากฎบนเอกสารที่ Line แจ้งต่อหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมในขณะนี้
โอกาสใหม่ที่ LINE คู่ควร
Line Corporation นั้นเป็นบริษัทที่อยู่เบื้องหลังแอปพลิเคชันแชตที่ได้รับความนิยมโดดเด่นในญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย ที่ผ่านมา Line ไม่เคยให้ข้อมูลแผนการลงทุนที่ชัดเจน ทำให้การประกาศในเอกสารถึงหน่วยงานรัฐบาลครั้งนี้ได้รับความสนใจมาก
ซึ่งการลงทุนนี้แสดงถึงความทะเยอทะยานของ Line ที่ต้องการสร้างระบบนิเวศสไตล์ WeChat นอกประเทศจีน แม้ว่าจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มี Go-Jek และ Grab เป็นผู้เล่นหลัก
สำนักข่าว Tech in Asia มองว่าการลงทุนครั้งนี้ของ Line มีความสำคัญมาก เพราะเมื่อพิจารณาจากรายได้ 1,880 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบเป็นรายปี) ซึ่งขาดทุนอยู่ 52.7 ล้านเหรียญในปี 2561 ที่ผ่านมา ถือว่าเม็ดเงินลงทุน 182 ล้านเหรียญนั้นสูงมากอย่างเห็นได้ชัด
เช่นเดียวกับ WeChat ยักษ์เล็กอย่าง Line กำลังสร้างเนื้อหาที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนระบบนิเวศของตัวเอง ทั้งบริการเกม หางาน บริการการ์ตูนมังงะ และบริการอีคอมเมิร์ซ ทั้งหมดนี้จะเติบโตได้ดีมากหาก Line มีธุรกิจรับชำระเงินมาเป็นฐาน ซึ่งจะทำให้ Line ขยายไปเจาะกลุ่มร้านค้าปลีกที่มีหน้าร้าน และตลาดบัตรเครดิตได้
นอกจากนี้ Line ยังถูกมองว่ากำลังปูทางขยายการลงทุนในบริการทางการเงินเพิ่มขึ้นอีก ประเด็นนี้มีรายงานว่า Line กำลังมองหาทางเปิดตัวธนาคารดิจิทัลในญี่ปุ่น และอาจเปิดตัวบริการสินเชื่อและแพคเกจประกันภัย รวมถึงการบริการในอุตสาหกรรม cryptocurrency เช่นกัน