VMware Workspace ONE & VMware SASE: เชื่อมต่อระบบเครือข่ายของธุรกิจองค์กรให้พร้อมเข้าถึงและใช้งานได้จากทุกที่ทุกเวลาอย่างมั่นคงปลอดภัย ตอบโจทย์การสร้าง Hybrid Workplace
VMware Cloud Disaster Recovery: เสริมความมั่นคงทนทานให้กับระบบ IT ขององค์กรด้วย Cloud รับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างมั่นใจ คิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงโดยไม่ต้องมี Data Center สำรองของตนเอง
ในส่วนที่สองนี้คุณณพัชร อัมพุช กรรมการผู้จัดการของ Cloud HM ได้มาเล่าให้ฟังถึงภาพของ Cloud ผ่านมุมมองของ Cloud HM ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้บริการคลาวด์ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ากว่า 1,000 รายในประเทศไทย โดยแพลตฟอร์มหลักที่ Cloud HM เลือกใช้ก็คือเทคโนโลยีจาก VMware นั่นเอง ทั้งนี้ Cloud HM นำเสนอบริการเพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจประกอบด้วย Virtual Desktop Infrastructure (VDI), Backup as a Service, DR as a Service, Object Storage as a Service และ Kubernetes as a Service ที่จะมาขยายความในหัวข้อถัดไป นอกจากบริการคลาวด์ในประเทศแล้ว Cloud HM ยังสามารถนำเสนอบริการ Public Cloud อื่นจากต่างประเทศได้ทั้ง AWS, Google Cloud, Azure และ Alibaba
จากทั้งหมดของงานวันนี้ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่เราไม่สามารถหยิบยกเนื้อหามาได้ทั้งหมด ซึ่งท่านใดที่สนใจข้อมูลแบบเต็ม ๆ สามารถย้อนดูเนื้อหาได้ที่ Link
เบลนเดต้า (Blendata)บริษัทผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Big Dataอัจฉริยะเผยจากประสบการณ์ด้านการเป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Big Data และการทำงานร่วมกับธุรกิจมากมายในประเทศไทยมากกว่า7ปี พบองค์กรในประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาในการบริหารจัดการข้อมูล และการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เผย 4 ความท้าทายในการทำ Big Data ที่องค์กรไทยต้องเผชิญ พร้อมแนะแนวทางแก้ไข ช่วยธุรกิจก้าวข้ามอุปสรรคการบริหารจัดการข้อมูลมหาศาลที่ซับซ้อนยุ่งยากให้ง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นายณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เบลนเดต้า จำกัด บริษัทผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการBig Data เปิดเผยว่า จากประสบการณ์ทำงานด้าน Big Data มากกว่า 7 ปี พบว่าบริษัทจำนวนมากในประเทศไทยให้ความสำคัญและต้องการที่จะนำ Big Data มาใช้ แต่ยังคงเผชิญกับปัญหาด้านการบริหารจัดการ Big Data เพื่อให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่าต่อการลงทุน นับเป็นความท้าทายของภาคธุรกิจที่ต้องพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ Big Data ให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูง โดยพบ 4 ความท้าทาย ด้านการบริหารจัดการ Big Data ที่องค์กรไทยกำลังเผชิญดังนี้
รู้ว่า Big Data มีประโยชน์และควรเร่งทำ แต่ยังไม่มีแนวทางในการเริ่มต้น หลายองค์กรเจอกับคำถามที่ว่า “จะเริ่มทำอะไรดี” และเลือกที่จะลงทุนซื้อเครื่องมือต่าง ๆ มาไว้ก่อน แล้วหาทางใช้ภายหลัง ทำให้การวัดผลความสำเร็จโครงการหรือผลตอบแทนนั้นทำได้ยากหรืออาจไม่คุ้มกับการลงทุน เนื่องจาก Big Data ไม่ใช่เครื่องมือที่ซื้อมา แล้วจะสามารถให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจได้ทันที แต่ต้องอาศัยความร่วมมือหลายด้าน ทั้งด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจ ด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านข้อมูลที่มีในมือ หรือด้านกระบวนการทำงานที่เอื้อต่อการทำโครงการ จากความท้าทายในข้อนี้องค์กรควรเริ่มต้นจากการ
ใช้ระบบ Big Data ที่สามารถรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลในองค์กรได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อสร้าง แหล่งข้อมูลจริงเพียงแห่งเดียว (Single source of truth) ที่ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในทันทีลดความซับซ้อนของข้อมูลและการทำงานที่ไม่จำเป็น เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน Business, Operation หรือทีมเทคนิค ซึ่งตัวช่วยสำคัญคือการเลือกใช้แพลตฟอร์ม Big Data ที่ควรรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลในองค์กรเพื่อใช้งานได้อย่างรวดเร็ว มีต้นทุนแรงงานการใช้งานต่ำ แก้ปัญหาและหลีกเลี่ยงการเข้าไปรื้อแก้ไขโครงสร้างข้อมูลที่ซับซ้อนโดยตรง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลที่ถูกรวบรวมไว้แล้วได้อย่างง่ายดายโดยไม่กระทบกับระบบเดิม
ดีไซน์ระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบเปิด (Open-platform) เพื่อรองรับการเติบโตของข้อมูลในอนาคต เมื่อทำระบบ Big Data เป็น Single source of truth แล้ว สิ่งสำคัญคือระบบใหม่ที่ต้องยืดหยุ่นมากพอที่จะรองรับการใช้งานจากผู้ใช้งานหลายรูปแบบ รวมถึงรองรับการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกล็อกอินจากผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง (Vendor lock-in) ซึ่งถ้าหากในอนาคตมีความต้องการใช้ข้อมูลจากแอปพลิเคชันอื่นจะต้องทำการเริ่มสร้างระบบใหม่ ซึ่งขัดกับวัตถุประสงค์ของ “Single” source of truth โดยปริยาย
การเลือกใช้เทคโนโลยีทันสมัยที่เหมาะสมอย่าง Big Data technology มารองรับการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่นับเป็นทางเลือกสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เพราะสามารถรองรับการขยายตัวของข้อมูลบนต้นทุนที่ต่ำ พร้อมทั้งสามารถบีบอัดข้อมูลให้เล็กลงได้หลายเท่าแต่ยังคงประสิทธิภาพเท่าเดิม ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมถึงการประมวลผลของ Big data technology ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่โดยเฉพาะ จึงทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลที่ใช้อยู่เป็นประจำ เช่น การสร้างรายงานประจำวันสำหรับผู้บริหารหรือการส่งต่อข้อมูลให้ฝ่ายวิเคราะห์ได้รวดเร็วกว่าเดิม โดยจากประสบการณ์ของบริษัทฯ นั้น พบว่าลูกค้าหลายองค์กรที่สามารถลดระยะเวลาประมวลผลจากหลักหลายชั่วโมง เหลือเพียงหลักนาทีหรือวินาทีเท่านั้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรสารสนเทศ และลดระยะเวลาการดูแลของทรัพยากรบุคคลได้มาก จึงเป็นทางเลือกสำคัญที่องค์กรควรพิจารณา เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจและเพื่อความคล่องตัวในการปรับขยายให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปัญหาด้านวัฒนธรรมองค์กรและบุคลากร วัฒนธรรมองค์กรแบบเดิม ๆ เช่น การที่แผนกไอทีเป็นเจ้าของโครงการ Big Data เพียงแผนกเดียว โดยไม่ได้มีแผนกอื่น เช่น ภาคธุรกิจ การตลาด หรือฝ่ายดำเนินการเข้ามาร่วมออกแบบหรือใช้งานข้อมูล รวมถึงไม่ได้มีการส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรมีการใช้ข้อมูลในการทำงาน หรือผลักดันธุรกิจให้ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-driven organization) รวมทั้งองค์กรยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้าน Big Data หรือ Data Analytics ซึ่งทำให้ยึดติดกับแนวคิดแบบเดิม
ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนการใช้ข้อมูลในการทำงานและการตัดสินใจ (Data-driven) จึงเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการทำ Big Data ซึ่งฝ่ายบริหารควรผลักดันและส่งเสริมให้พนักงานทุกคน มีส่วนร่วมในการทำโครงการนี้ โดยเริ่มตั้งแต่การเลือกกรณีศึกษา กำหนดรายละเอียด กำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการ เพื่อให้ทุกคนได้ใช้ข้อมูลมหาศาลเหล่านี้ประกอบการทำงานในทุกส่วน รวมทั้งการลงทุนกับเทคโนโลยีด้าน Big Data ที่สามารถใช้งานได้ง่ายและทำได้รวดเร็ว เพื่อลดระยะเวลาการเรียนรู้ (Learning curve) ของบุคลากร ทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงและใช้งาน Data ที่จำเป็นต่อการทำงานด้วยตนเองได้อย่างรวดเร็ว เป็นการวางรากฐานที่ดีตั้งแต่ระบบการทำงานและบุคลากรภายในองค์กร นำไปสู่วัฒนธรรมองค์กรที่ใช้ข้อมูลเป็นเข็มทิศในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจก้าวข้ามความท้าทายในการใช้ Big Data บริษัทฯ ได้พัฒนา Blendata Enterprise – Simplify Big Data Platform ระบบที่ตอบโจทย์ทุกขั้นตอนการจัดการ Big Data ตั้งแต่รวบรวมข้อมูล จนถึงการนำข้อมูลไปใช้ ในแบบ Code-free พร้อมจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่แบบ Real-time ช่วยเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจพร้อมสำหรับทุกการแข่งขันด้วยเวลาที่รวดเร็ว ลดเวลาและลดความซับซ้อนในการเข้าถึงข้อมูล แม้ผู้ใช้งานไม่มีความรู้ด้าน IT หรือ Big Data ให้ทุกคนในองค์กรสามารถใช้งานข้อมูลได้อย่างง่ายดายผ่านหน้าเว็บ Browser ด้วยราคาที่สามารถจับต้องได้ ลดการลงทุนทางด้านบุคลากรเทคนิคเฉพาะด้าน ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ไลเซนส์ และการบำรุงรักษา ช่วยให้องค์กรปรับเปลี่ยนสู่การเป็น Data-Driven Organization ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการรวบรวมทุกฟังก์ชันในการจัดการ Big Data ไว้ในแพลตฟอร์มเดียว แบบ All-in-one อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูล Big Data ที่มีอยู่ในมือไปต่อยอดเพื่อยกระดับธุรกิจในด้านอื่น ๆ ได้อย่างอิสระ
4.) Google Docs มีการเพิ่มฟีเจอร์บทสรุป ทำให้สร้างโน๊ตย่อแปะไว้ได้
5.) Google Search สามารถค้นหารูปภาพได้อย่างฉลาดมากขึ้น เช่น ถ่ายรูปส่วนบ้านที่ต้องการซ่อมแซมและคำว่า near me จากนั้น Google Search จะแสดงร้านค้าที่ใกล้ที่สุดโดยจะเริ่มที่ผู้ใช้งานภาษาอังกฤษก่อน
6.) ความสามารถด้าน AI ที่ Google กล่าวถึงมีหลายอย่างเช่น
เพิ่มความแม่นยำในเรื่องของสีผิวจาก Monk Skin Tone Scale พร้อมเปิดโอเพ่นซอร์สผ่าน skintone.google
เปิดตัว LaMDA2 เป็นส่วนหนึ่งใน AI Test Kitchen
ออกโมเดลภาษาใหม่ที่ชื่อ PaLM เพื่อใช้แก้ปัญหา math word ที่ซับซ้อนและอธิบายขั้นตอนได้อย่างละเอียด
RedHat เปิดตัว Red Hat Enterprise Linux 9 แล้ว เสริมความปลอดภัยมากขึ้น
Credit: Red Hat
ในงาน Red Hat Summit ที่กำลังจัดขึ้น Red Hat ได้ประกาศเปิดตัว Red Hat Enterprise Linux (RHEL) 9 อย่างเป็นทางการ ในเวอร์ชันนี้ได้มีการเสริมความปลอดภัยมากขึ้นด้วยการตรวจสอบความปลอดภัยระดับฮาร์ดแวร์ เพื่อป้องกันการโจมตีจากช่องโหว่ระดับฮาร์ดแวร์ เช่น Spectre และ Meltdown ที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ และมีการเสริมความปลอดภัยอื่นๆอีก เช่น
รองรับการใช้งาน Smart Card authentication ผ่านทาง Web Console, Sudo และ SSH
เพิ่ม Security Profile รองรับการตรวจสอบจาก Red Hat Insight และ Red Hat Satellite เพื่อรองรับการใช้งานตามมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ เช่น PCI-DSS และ HIPAA
ปัจจุบันผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเวอร์ชัน Beta ไปทดสอบใช้งานได้ ซึ่ง Red Hat จะเปิดให้ใช้งานแบบ GA ภายในเดือนนี้ มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 179 เหรียญสำหรับรุ่น Workstation, 349 เหรียญสำหรับรุ่น Server Edition ส่วนราคา Support แบบ Standard และ Premium อยู่ที่ 799 เหรียญและ 1,299 เหรียญต่อปีตามลำดับ