Sudio แบรนด์หูฟังจากสวีเดนยังคงทำตลาดในไทยอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งหูฟังรุ่นที่ 7 อย่าง Sudio Nio เข้ามาจำหน่าย ซึ่งเป็นหูฟังไร้สายเสียงดี ไมโครโฟนชัด เหมาะแก่การฟังเพลงและประชุมออนไลน์ในช่วง Work From Home แบบนี้
อีกทางลัดหนึ่งสำหรับเข้ามาในหน้า Notification history ก็คือ ลากถาดการแจ้งเตือนจากด้านบนจอลงมา เลื่อนลงมาล่างสุดจะเจอคำว่า History สามารถกดที่นี่เพื่อเข้าไปหน้า Notification history ได้เช่นกัน
แอบบอกว่า เวลาเพื่อนส่งข้อความมาแล้วกดลบไป บางแอป (เช่น Telegram) จะลบการแจ้งเตือนออกให้ด้วย ซึ่งเราก็สามารถตามมาอ่านใน Notification History ได้ด้วย
ทวิตเตอร์เปิดเผยรายงานการพบบัญชีปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร หรือ Information Operation (IO) ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลไทย โดยมีการพบบัญชี IO กว่า 926 บัญชีที่ทวิตเตอร์เชื่อมั่นว่ามีความเกี่ยวข้องกับกองทัพไทย (“we can reliably link to the Royal Thai Army”)
These accounts were engaging in amplifying pro-RTA and pro-government content, as well as engaging in behavior targeting prominent political opposition figures.
Keychon K8 รองรับการใช้งานทั้งแบบไร้สายผ่านบลูทูธ และแบบมีสายผ่าน USB Type-C ซึ่งในกล่องก็มีสาย USB Type-C to Type-A แบบถักมาให้หนึ่งเส้น หากจะใช้งานในโหมดไร้สายหรือมีสายก็เพียงสลับสวิตช์ด้านซ้ายของคีย์บอร์ดไปในโหมดดังกล่าว สำหรับโหมดบลูทูธจะสามารถกดสลับไปมาได้สูงสุด 3 เครื่อง ด้วยการกด Fn + 1 หรือ 2, 3
Keychron K8 ตัวนี้เป็นสวิตช์ Gateron Brown ก็จะให้ความรู้สึกที่มีฟีดแบ็คเล็กน้อยเวลากดแป้นลงไป ให้ได้รู้สึกว่ามีการกดลงไปสำเร็จแล้ว สวิตช์แบบ Brown นี้ก็จะเหมาะสำหรับคนที่เน้นการพิมพ์ อยากได้ฟีดแบ็คเวลากด แต่ก็ไม่อยากได้เสียงที่ดังแบบสวิตช์ Blue
เสียงของคีย์บอร์ดถือว่ารื่นหู แต่ก็ดังกว่าคีย์บอร์ด chiclet พอสมควร สำหรับตัว Keychron K8 นี้ ไม่ได้มีเสียงฝืดแปลกๆ ที่แป้นใหญ่อย่าง space bar หรือ enter แต่อย่างใด
สำนักข่าว The Wall Street Journal เผยแพร่รายงานชิ้นใหม่ พบว่าบริษัทผู้รับเหมาอย่างน้อยหนึ่งรายของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้ใส่ซอฟต์แวร์การติดตามของรัฐบาลลงในแอปพลิเคชันกว่า 500 รายการ
รายงานของ WSJ ระบุว่าผู้รับเหมารายหนึ่งที่ชื่อ Anomaly Six LLC มีการจ่ายเงินให้นักพัฒนาแอปฝังโค้ดติดตามของ Anomaly Six เองลงในแอปของตนเอง โดยบริษัทจะเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากสมาร์ทโฟนที่ติดตั้งแอปที่มีโค้ดติดตามดังกล่าว และขายให้กับรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาในแบบไม่ระบุตัวตนโดยผูกไว้กับไอดีผสมตัวเลขและตัวอักษร
ทั้งนี้ไม่มีการเปิดเผยจาก Anomaly Six ว่ามีแอปใดบ้างที่มีโค้ดติดตามดังกล่าวฝังอยู่ และในข้อตกลงการใช้แอปต่างๆ ที่มีโค้ดนี้ก็ไม่จำเป็นต้องระบุถึง Anomaly Six ด้วย จึงเป็นการยากที่จะหาว่ามีแอปใดบ้างที่มีโค้ดติดตามนี้
โดยสรุป ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่ามีแอปใดบ้างที่มีโค้ดติดตามของ Anomaly Six อีกทั้งผู้ใช้ก็ไม่สามารถสั่งห้ามการติดตามได้เพราะแอปเหล่านี้ไม่ได้แจ้งผู้ใช้ถึงการทำงานดังกล่าว
ธนาคารกสิกรไทยเปิดตัว MAKE by KBank แอปพลิเคชันการธนาคารตัวใหม่เจาะตลาดเยาวชนและวัยรุ่น หวังมอบประสบการณ์การทำธุรกรรมแบบ ‘โซเชียล’ ด้วยฟีเจอร์ Pop Pay, Chat History และ Cloud Pocket
MAKE by KBank เป็นแอปพลิเคชันการธนาคารที่ออกแบบโดยคำนึงถึงรูปแบบการทำธุรกรรมและบริหารเงินของสังคมในปัจจุบัน ที่มีพฤติกรรมการทำธุรกรรมร่วมกันกับผู้อื่นมากขึ้น เช่น หารกันจ่ายค่าอาหาร ค่าที่พัก โอนเงินให้ครอบครัว และรวบรวมเงินทำกิจกรรมในชมรม เป็นต้น
ขั้นตอนการเปิดบัญชีสามารถกระทำได้ผ่านแอปตลอดกระบวนการ เมื่อเปิดใช้งาน MAKE by KBank ผู้ใช้จะได้รับบัญชี K-eSavings ของธนาคารกสิกรไทย พร้อมอัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ 1.5 ต่อปี
Pop Pay – ผู้ใช้สามารถโอนเงินให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องใส่หมายเลขบัญชี พร้อมเพย์ หรือสแกนคิวอาร์โค้ด แต่จะสามารถใช้บลูทูธในการหาผู้ใช้ MAKE อื่นที่อยู่ภายในรัศมีของบลูทูธแทน (กสิกรให้ตัวเลขที่ 10 เมตร) เหมาะกับการรวบรวมเงินจากหลายๆ คน
ในระยะแรก MAKE by KBank จะได้รับการทดสอบใช้งานภายในธนาคารกสิกรก่อน แล้วจึงเปิดให้บริการแก่สาธารณะในช่วงปลายปีนี้ ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ kbtg.tech/makebank
MAKE by KBank ถือเป็นการขยับตัวของธนาคารกสิกรในการลงมาจับกลุ่มเป้าหมายที่อายุน้อยลง และเป็นแอปพลิเคชันการธนาคารตัวแรกๆ ของไทยที่ปักธงกลุ่มผู้ใช้ชัดเจนที่เยาวชน